รวมชุดข้อมูลเปิดแผนที่น้ำท่วมประเทศไทย

Gain
4 min readAug 24, 2024

--

Democratizing Thailand Flood risk data

AHA Centre Flash update (https://ahacentre.org/flash-updates) on 24 Aug 2024

หมายเหตุ: ข้อมูลแต่ละชุด มีข้อจำกัดที่ไม่เหมือนกัน เนื่องจากวิธีการจัดทำ (methodology) และจุดประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป ไม่สามารถนำเปรียบเทียบกันได้โดยตรง โปรดศึกษาข้อมูล metadata ประกอบการใช้งาน สีของแผนที่จำเป็นจะต้องดูคู่กับแถบสีและหน่วย (ความสูงของระดับน้ำ) ของแผนที่เพิ่มเติม แถบสีที่แนบมาในบทความนี้เป็นเพียงแค่ตัวอย่างเท่านั้น ข้อมูลแผนที่น้ำท่วมในบทความนี้ควรใช้สำหรับการวางแผนระยะไกล และไม่เหมาะกับการใช้ในเหตุการณ์ภัยพิบัติระยะสั้น สำหรับการพยากรณ์/แจ้งเตือนระยะสั้น โปรดติดตามข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา, สำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สนท.), กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ (ทั้งจากเว็บไซต์และเฟสบุ้ค)

จุดประสงค์: เพื่อรวบรวมข้อมูลเปิดแผนที่น้ำท่วมประเทศไทยให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึง/วิเคราะห์ได้ หรือสำหรับนักวิจัยเพื่อที่จะนำไปวิจัยศึกษาต่อยอด

วิธีการใช้งาน: บางชุดข้อมูลมีเว็บแสดงผลสำเร็จรูป ส่วนข้อมูลอื่นๆสามารถดาวโหลดโปรแกรม QGIS เพื่อไปเปิดดูข้อมูลระดับน้ำแบบละเอียด (ตาม lat, lon)ได้ฟรี

1. [GISTDA] แผนที่น้ำท่วมซ้ำซาก — แสดงจำนวนครั้งที่น้ำท่วมตั้งแต่ปี 2005 ถึง 2016

Web map: https://gistdaportal.gistda.or.th/gmos/_Floodfreqstat/

Metadata: https://oasishub.co/dataset/thailand-annual-flood-extents-gistda

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการบริการจัดการน้ำท่วม – ข้อมูลปัจจุบัน, คาดการณ์น้ำท่วม, น้ำท่วมซ้ำซาก, ขอบเขตน้ำท่วม, ดาวโหลดข้อมูล, API/STAC https://disaster.gistda.or.th/flood/

2. [EU JRC] Global river flood hazard maps V2.0.0 (2024–03–14)

  • ความละเอียด: ประมาณ 90 m, หน่วยของข้อมูล: เมตร

Return periods (RPs): 10, 20, 50, 75, 100, 200, 500 years

หมายเหตุ: return period เป็นหน่วยมาตรฐานสากลที่ใช้ในแผนที่น้ำท่วม ไม่ได้หมายความว่าจะเกิดขึ้นทุกๆ 200 ปี แต่หมายถึงโอกาสที่น้ำจะท่วมเกินความสูงเท่านี้ ที่ความน่าจะเป็นเท่านี้ อ่านความหมายเพิ่มเติมได้นี้ ซึ่งความน่าจะเป็นนี้สามารถนำไปคำนวนความเสี่ยงและโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ หนึ่งในตัวอย่างอุตสาหกรรมที่นำไปใช้คือประกันภัย และ Catastrophe Modeling

แผนที่ความสูงที่ใช้: MERIT-DEM (2018)

Data Download: https://jeodpp.jrc.ec.europa.eu/ftp/jrc-opendata/CEMS-GLOFAS/flood_hazard/ (ประเทศไทยครอบคลุม 6 tile ids คือ N9_E90, N29_E100, N29_E90, N19_E90, N19_E100, N9_E100)

Metadata: https://jeodpp.jrc.ec.europa.eu/ftp/jrc-opendata/CEMS-GLOFAS/flood_hazard/README-flood_maps-Global.txt (Main data page)

3. [CIMA Foundation and UNEP-GRID] GAR15 Global Riverine Flood hazard map

  • RPs: 25, 50, 100, 200, 500, 1000

Data download: https://risk.preventionweb.net/ (Grid file)

Metadata: https://energydata.info/dataset/global-river-flood-hazard-0

4. [World Bank] South-East Asia River Flood Hazard

RPs: 2,5,10,25,50,100,250,500,1000

  • ความละเอียดประมาณ 1 กม.
  • climate change scenarios (จาก WRI): historical baseline, RCP45, RCP85
  • ปีที่คาดการ: current, 2030, 2050, 2080
RCP8.5 2080 RP1000

หมายเหตุ: ปัจจุบันแผนที่น้ำท่วมส่วนใหญ่มักจะผลิตออกมาในรูปแบบของ climate change scenario และ ปีที่คาดการณ์แบบนี้ เพื่อใช้ในการคำนวนความเสี่ยงและวางแผนอนาคต

Data download & Metadata: https://datacatalog.worldbank.org/search/dataset/0042423/South-East-Asia-river-flood-hazard

5. [ไม่ฟรี] ตัวอย่างแผนที่จากบริษัทแผนที่น้ำท่วมชั้นนำ

6. ข้อมูล/รายงานต่างๆเกี่ยวกับน้ำท่วมปี 54

  • [สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์] Thailand’s flood situation: the big picture รวบรวมภาพ timeline แผนที่น้ำท่วมปี 2011 และแผนที่ระดับความสูงของพื้นที่กทม.จาก GISTDA
  • [GISTDA] FL_flood_GISTDA_50k_Y2011 — ขอบเขตน้ำท่วมจากการแปลตีความดาวเทียม Radarsat และ Thaichote ปี พ.ศ. 2554 (metadata)

7. [Fathom] FABDEM V1– 2 แผนที่ระดับความสูง

ซ้าย: ตัวอย่างการแสดงผลข้อมูล FABDEM แบบหยาบ บน Google Earth Engine จาก awesome-gee-community-catalog | ขวา: ตัวอย่าง Tile coverage และข้อมูลบริเวณภาคใต้บางส่วนจาก FABDEM V1–2
  • FABDEM (Forest And Buildings removed Copernicus DEM) เป็นแผนที่ระดับความสูงที่ลบตึกและต้นไม้ออกจากแผนที่ และเป็นแผนที่ความสูงที่มีคุณภาพมากที่สุดแผนที่หนึ่งในปัจจุบันในการทำแผนที่น้ำท่วม (เผยแพร่ล่าสุดวันที่ 18 Jan 2023) หมายเหตุ: โดยปกติ แผนที่น้ำท่วมจะผลิตจากข้อมูล 3 ส่วนหลักๆ คือ 1.Digital Elevation Model (DEM) 2.Hydrology modeling 3.Climate Change scenario projection
  • ความละเอียดประมาณ 30m
  • ข้อมูลต้นทางจาก Copernicus GLO 30 Digital Elevation Model (DEM), ดูออนไลน์ได้ที่ Corpernicus Browser
  • Licensed under a Creative Commons “CC BY-NC-SA 4.0” license
  • Medata & Data Download: https://data.bris.ac.uk/data/dataset/s5hqmjcdj8yo2ibzi9b4ew3sn
  • ข้อมูลจะแบ่งเป็น tile โดยขนาด tile ละ 1x1 degree (ประมาณ 111x111 กม.) โดยสามารถดาวโหลด FABDEM_v1–2_tiles.geojson เพื่อหา tile id สำหรับบริเวณที่สนใจได้
  • หาก V1–2 เข้าไม่ได้สามารถดาวโหลดเวอชั่นก่อนหน้าได้ที่ FABDEM V1–0
  • Paper: https://iopscience.iop.org/article/10.1088/1748-9326/ac4d4f

8. [WRI] Aqueduct Floods Hazard Maps — Version 2 (updated October 20, 2020)

9. [USAID, NASA, ADPC] HydraFloods Viewer

  • Hydrologic Remote Sensing Analysis for Floods (HYDRAFloods)
  • แผนที่บริเวณน้ำท่วม (flood extent) โดยคำนวณมาจากภาพถ่ายดาวเทียม (Satellite-derived) หมายเหตุ: แผนที่มีความล่าช้าประมาณ 1–2 วัน

https://hydrafloods-servir.adpc.net/map/

ผู้เขียนขอเรียกร้องให้รัฐบาลจัดทำชุดข้อมูลเปิดแผนที่น้ำท่วมความละเอียดสูงเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ และสามารถวางแผนปรับตัวชีวิตทรัพย์สินและบ้านเรือนเพื่อที่จะรับมือกับน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และน้ำท่วมในอนาคตที่มีแนวโน้มที่รุนแรงขึ้นจากภาวะโลกร้อน

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม:

--

--